ทำความรู้จัก Tube รถไฟใต้ดินในลอนดอนกันเถอะ
- เคล็ดลับการเรียนต่อที่อังกฤษ | เคล็ดลับการเรียนต่ออังกฤษ
- March 16, 2022
- P'Aim
Estimated reading time: 2 minutes
ถ้าพูดถึงการเดินทางในลอนดอน จะไม่พูดถึงรถไฟใต้ดินของลอนดอนนั้นคงเป็นไปไม่ได้ รถไฟใต้ดินของลอนดอนนั้นมีประวัติมาอย่างยาวนาน อังกฤษถือเป็นประเทศแรกที่สร้างรถไฟใต้ดิน โดยเริ่มก่อสร้างในปี ค.ศ.1863 ปัจจุบันก็มีอายุเกือบ 160 ปีแล้ว ทำให้ลอนดอนเป็นต้นแบบการสร้างรถไฟใต้ดินของโลกอีกด้วย ด้วยระบบขนส่งสาธารณะที่เยี่ยมยอดดังกล่าว ทำให้ลอนดอนเป็นหนึ่งในเมืองที่มีระบบขนส่งสาธารณะดีที่สุดของโลก ที่ชาวลอนดอนและนักท่องเที่ยวสามารถเดินทางได้อย่างสะดวกสบาย โดยมีสถานีโดยรวมในลอนดอนกว่า 270 สถานีเชื่อมต่อทุกพื้นที่ในลอนดอนและปริมณฑล
ก่อนอื่นหลายคนอาจสงสัยว่ารถไฟใต้ดินของลอนดอน สรุปเรียกว่า Tube หรือ Underground กันแน่
จริง ๆ แล้ว เราสามารถเรียกได้ทั้งสองชื่อ โดยชื่อที่เป็นทางการคือ London Underground ส่วน Tube จะเป็นชื่อเล่นหรือ คำเรียกที่ชาวลอนดอน และ คนอังกฤษนิยมใช้พูดกันมากกว่า เนื่องจากเปรียบเทียบอุโมงค์ใต้ดินเป็นเหมือนท่อยาว ๆ นั่นเอง
แผนที่ Tube และ Zone ต่าง ๆ
- ปัจจุบันสถานีรถไฟใต้ดินทั้งหมดในลอนดอนและบริเวณใกล้เคียงมีทั้งสิ้น 274 สถานี
- ลอนดอนถูกแบ่งเป็นทั้งหมด 9 โซนในปัจจุบัน โดยเรียงจากโซน 1 คือใจกลางลอนดอนไล่ไปจนถึงโซน 9 ในเขตปริมณฑล
- สถานีรถไฟใต้ดิน มีทั้งสิ้น 11 สาย คือ Bakerloo, Central, Circle, Hammersmith & City, Jubilee, Metropolitan, Northern, Piccadilly, Victoria และ Waterloo & City
- ราคาของตั๋วรถไฟใต้ดิน ขึ้นอยู่กับระยะทางที่เดินทาง และเวลาที่เลือกเดินทาง
- โดยปกติแล้วรถไฟใต้ดินจะเปิดบริการตั้งแต่ตี 5 ไปจนถึงเที่ยงคืนของทุก ๆ วัน และบางสายอาจเปิด Night Tube ในช่วงเย็นของวันศุกร์และวันเสาร์ด้วย
- TFL หรือ Transport for London เป็นหน่วยงานราชการที่รับผิดชอบระบบคมนาคมในลอนดอนและปริมณฑล
- เนื่องจากสถานีรถไฟใต้ดินในลอนดอนมีจำนวนมากและซับซ้อน TFL จึงมีบริการแจกแผนที่รถไฟใต้ดินฟรีให้แก่นักท่องเที่ยวตามสถานีรถไฟใต้ดิน หรือ เราสามารถดาวน์โหลดได้จากทางเว็บไซต์ คลิก
- ปัจจุบันในช่วงที่โควิดยังคงระบาดอยู่ TFL กำหนดให้ผู้โดยสารทุกคนที่จะใช้บริการรถไฟใต้ดินต้องสวมใส่หน้ากากอนามัยเมื่อเข้ามายังสถานีและขึ้นรถไฟ
Oyster Card
ถ้าเราไปลอนดอน หรือ เรียนในลอนดอน เราจะต้องรู้จักเจ้าบัตรหอยนางรม หรือ Oyster Card อันนี้ ซึ่งเป็นบัตรเติมเงินแบบ contactless เพื่อใช้เดินทางขนส่งสาธารณะทุกประเภทในลอนดอน เช่น Underground, Bus, Overground, TFL Rail, Tram, DLR, River bus services และอื่น ๆ โดยการซื้อบัตร Oyster จะทำให้ราคาถูกกว่าการซื้อตั๋วแบบเที่ยวเดียว สามารถหาซื้อได้ที่สถานีรถไฟใต้ดิน สถานีรถไฟ ร้านค้า ร้านสะดวกซื้อ โดยมีค่าบัตร 5 ปอนด์ เมื่อได้บัตรมาแล้วเราก็เติมเงินเข้าไปในบัตรได้เลย สามารถเติมเงินได้ที่สถานีรถไฟใต้ดิน หรือ ร้านค้า หรือบัตรเครดิตก็ได้
ที่มา www.theshaftesbury.com
สำหรับนักเรียน Full-time Student ที่กำลังศึกษาอยู่ที่อังกฤษหรือลอนดอน เราสามารถขอทำบัตร 18+ Student Oyster Photocard ได้ โดยจะได้รับส่วนลดค่าเดินทาง 30% ซึ่งเราขอสมัครได้ทางออนไลน์ได้ โดยกรอกข้อมูลส่วนตัว เช่น ชื่อ อีเมล วันเกิด เบอร์โทรศัพท์ และ Student ID number วันที่เริ่มเรียนและวันที่จบ รวมถึงอัพโหลดรูปถ่ายเพื่อติดบัตร และจ่ายค่าธรรมเนียมจำนวน 20 ปอนด์ ผ่านบัตรเครดิตหรือเดบิตของเราได้ เมื่อเราสมัครเรียบร้อยแล้ว บัตรจะมาส่งที่ที่อยู่ที่เรากรอกไว้ประมาณ 5-7วัน
🌐 คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ tfl.gov.uk
Do & Don’t เมื่อขึ้นรถใต้ดินในลอนดอน
เนื่องจากสถานีรถไฟใต้ดินต่าง ๆ ในลอนดอนมีความซับซ้อนและบางครั้งเต็มไปด้วยผู้คนที่สัญจรไปมา สำหรับนักเรียนไทยอย่างเราที่อาจจะไม่คุ้นชินกับสถานที่และวัฒนธรรมการเดินทางของชาวลอนดอนและชาวอังกฤษ หัวข้อนี้อาจจะช่วยให้เราเข้าใจและเตรียมตัวก่อนได้ค่ะ
- อย่างแรกเราควรศึกษาเส้นทาง สถานีที่เราจะไป หรือ การต่อรถไฟคร่าว ๆ ก่อนเดินทาง เพราะเมื่อไปถึงที่สถานีแล้ว เราจะพบว่าสถานีนั้นเต็มไปด้วยผู้คนที่เดินไปเดินมา การที่เราหยุดอยู่กับที่เพื่อเช็คหรือดูโทรศัพท์มือถือ อาจจะกีดขวางการสัญจรของผู้คนได้ รวมถึงความปลอดภัยของเราเองหากมีคนเดินชน หรือ ภัยจากการโดนล้วงกระเป๋า
- เราควรเตรียมบัตร Oyster Card ให้พร้อมใช้งาน เพราะ Tube และขนส่งมวลชนส่วนใหญ่จะไม่รับเงินสด
- เมื่อขึ้นบันไดเลื่อนควรยืนชิดฝั่งขวา เนื่องจากชาวลอนดอนส่วนใหญ่ชอบเดินในเวลาเร่งรีบค่ะ การยืนขวางทั้งสองฝั่งอาจจะกีดขวางพวกเขาในเวลารีบเร่งได้
- ระหว่างที่เดินอยู่ในสถานี ไม่ควรเดินและเล่นโทรศัพท์มือถือไปด้วย ดังที่กล่าวไปคือชาวลอนดอนในเวลารีบเร่งช่วงเช้าและเย็นนั้นจะเดินเร็วและเต็มไปด้วยความตึงเครียด หากเราเดินไปเล่นโทรศัพท์ไป เดินช้ากีดขวางทาง เราอาจจะโดนเดินชน หรือ โดนขอทางอย่างหงุดหงิดได้ค่ะ
- Mind the Gap! เราจะได้ยินคำนี้บ่อยมาก ๆ ในสถานีรถไฟใต้ดินค่ะ นั่นหมายความว่าเราไม่ควรยืนเกินเส้นสีเหลืองตามชานชาลาเพื่อความปลอดภัยของเราเอง ป้องกันการผลัดตกลงไป เนื่องจากชานชาลาส่วนใหญ่ในลอนดอนจะไม่มีที่กั้น และ ที่สำคัญควรรอให้รถไฟจอดสนิทก่อนถึงเดินเข้าไปในตัวรถไฟ
- ในชั่วโมงเร่งด่วนที่คนหนาแน่นและแออัด เราควรหลีกเลี่ยงการใช้เสียงดังหรือพูดคุยกันภายในตัวรถ
- ห้ามรับประทานอาหารภายในตัวรถ
- ระมัดระวังความปลอดภัยของตนเองและทรัพย์สิน รวมถึงหลีกเลี่ยงการคุยกับคนแปลกหน้า ลอนดอนเต็มไปด้วยผู้คนและนักท่องเที่ยว ดังนั้นจึงอาจมีอาชญากรรมเกิดขึ้นได้บ่อยครั้ง ไม่ว่าจะเป็นการโดนล้วงกระเป๋า รวมถึงการโดนเหยียด ดังนั้นขอให้ทุกคนตั้งสติและระมัดระวังตัวเองไว้ดีที่สุด
📝 บทความโดย พี่เอม ที่ปรึกษาด้านการศึกษาต่อสหราชอาณาจักรของ One Education และ เป็นรุ่นพี่ศิษย์เก่าจาก SOAS University of London
สนใจเรียนต่อสหราชอาณาจักร สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมและสมัครเรียนได้กับพี่ ๆ One Education ผู้เชี่ยวชาญด้านศึกษาต่อสหราชอาณาจักรมามากว่า 30 ปี และเป็นตัวแทนมหาวิทยาลัยชั้นนำในสหราชอาณาจักรอย่างเป็นทางการ ยินดีให้บริการเรื่องเรียนต่อ UK ครบทุกขั้นตอนฟรี!
Add Line: @one-edu
คลิกกรอกแบบฟอร์ม เพื่อให้พี่ ๆ One Education ติดต่อกลับ
โทรสอบถามสาขาใกล้บ้านคุณ
สาขาชิดลม: 02-652-0718
สาขาปิ่นเกล้า: 02-884-5328
สาขาพระราม 2: 02-896-1445
One Education | Study Abroad. Simplified ให้ทุกเรื่องการเรียนต่อต่างประเทศของคุณเป็นเรื่องง่ายครบในที่เดียว
ตามทันทุกข้อมูลการเรียนต่อ UK & Australia
Facebook: One Education
Instagram: oneeducationthailand
Twitter: One Education
YouTube: One Education
บทความล่าสุด
5 เหตุผลดีๆ ทำไมต้องเลือกเรียนต่อที่ University of Southampton เรียนต่อเภสัชที่อังกฤษกับ University of Sunderland บอกต่อ 6 หลักสูตรปริญญาโทน่าเรียนที่ Nottingham University Business School ข่าวดี! รัฐบาลออสเตรเลียเลื่อนประเทศไทยขึ้น Level 2 แนะนำ 5 หลักสูตรยอดฮิตของ Oxford Brookes Universityหมวดหมู่
เรื่องเล่าจากรุ่นพี่
เคล็ดลับการเรียนต่ออังกฤษ
เคล็ดลับการเรียนต่อออสเตรเลีย
หลักสูตรยอดนิยม
ทุนการศึกษา
โปรโมชั่นเรียนภาษา