ส่อง 6 อาชีพสายวิทย์ ที่กำลังเป็นที่ยอดฮิตของตลาด
- เคล็ดลับการเรียนต่อที่ออสเตรเลีย | เคล็ดลับการเรียนต่อออสเตรเลีย
- April 9, 2023
- One Education
เมื่อพูดถึงอาชีพสายวิทย์ หลาย ๆ คนคงจะคิดถึงแพทย์ พยาบาล และสารพัดอาชีพสายวิทยาศาสตร์สุขภาพกันเป็นอันดับแรก แต่เชื่อไหมว่าอาชีพสายวิทย์ยังมีอีกมากมาย แถมยังเกี่ยวข้องกับชีวิตประจำวันของเราโดยที่เราไม่รู้ตัว และในหลาย ๆ ประเทศทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย อาชีพสายวิทย์ก็ถูกจัดเป็นอาชีพขาดแคลนหรือเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานอย่างต่อเนื่อง ซึ่งอาชีพที่พี่ ๆ One Education จะมาแนะนำในวันนี้ นอกจากเป็นที่ต้องการของตลาดแล้วยังน่าสนใจไม่แพ้อาชีพอื่น ๆ เลย ไปดูกัน
1) นักเคมีปรุงยา (Pharmaceutical Chemists)
อาชีพสายตรงสำหรับเด็กสายวิทย์ก็คงหนีไม่พ้น ‘นักเคมี’ หรือพิเศษขั้นกว่าด้วยอาชีพ ‘นักเคมีปรุงยา’ ที่ฟังดูอาจจะถูกใจแฟนตาซีเกมเมอร์ แต่ช้าก่อน เพราะอาชีพนี้มีความสำคัญและถือเป็นส่วนหนึ่งของอุตสาหกรรมการแพทย์ ด้วยความที่นักเคมีปรุงยาจะต้องเป็นคนคิดค้น ค้นคว้า และทำการทดลองเพื่อหาตัวยารักษาโรคและเภสัชภัณฑ์ต่าง ๆ รวมถึงตรวจสอบคุณภาพการผลิตตั้งแต่วัตถุดิบ โรงงาน สารปนเปื้อนและสารพิษต่าง ๆ เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ปลอดภัยตามมาตรฐานสากล
อยากเป็นนักเคมีปรุงยา ต้องเรียนหลักสูตรอะไรที่ University of Queensland
- Bachelor of Science (Major in Chemistry)
- Bachelor of Science (Major in Microbiology)
- Bachelor of Biomedical Science
- Bachelor of Biotechnology
- Master of Science
- Master of Biotechnology
- Master of Molecular Biology
รายได้เฉลี่ยของนักเคมีปรุงยาในประเทศไทย: เงินเดือนเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 50,000 บาทต่อเดือน ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ทำงาน
2) นักวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง (Cosmetic Scientist)
ใครที่หลงใหลในสายวิชาเคมีแต่อยากประกอบอาชีพที่ต้องอาศัยทั้งศาสตร์และศิลป์ ลองดูอาชีพนี้เลย เพราะนอกจากจะต้องคิดค้น ทดลอง และทำการวิจัยหาเครื่องสำอางใหม่ ๆ และผลิตภัณฑ์ของใช้ส่วนตัวแล้ว ‘นักวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง’ ยังต้องผสมผสานความรู้เรื่องกลิ่น สี พืชพันธุ์และสารสกัดจากธรรมชาติ รวมถึงความรู้เรื่องการตลาดต่อผลิตภัณฑ์แต่ละประเภทด้วย เรียกได้ว่า นอกจากจะต้องนั่งอยู่ในห้องแล็ปแล้ว ยังต้องตามเทรนด์ภายนอกให้ทันด้วย
อยากเป็นนักวิทยาศาสตร์เครื่องสำอาง ต้องเรียนหลักสูตรอะไรที่ University of Queensland
- Bachelor of Science (Major in Chemistry)
- Bachelor of Engineer (Major in Chemical Engineering)
- Master of Molecular Biology
รายได้เฉลี่ยของนักวิทยาศาสตร์เครื่องสำอางในประเทศไทย: เงินเดือนเฉลี่ยอยู่ที่ 98,000 – 300,000 บาทต่อเดือน ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ทำงาน
3) นักระบาดวิทยาภาคสนาม (Field Epidemiologist)
อีกหนึ่งอาชีพสายวิทย์ที่ถูกบรรจุให้เป็นส่วนหนึ่งของอุตสาหกรรมการแพทย์แบบโดยตรง เพราะอาชีพนี้มีบทบาทมาก ๆ ตั้งแต่ก่อนมีสัญญาณไปจนถึงภายหลังการเกิดโรคระบาด ‘นักระบาดวิทยาภาคสนาม’ จะต้องเป็นผู้ลงพื้นที่เก็บสถิติและตัวอย่างเชื้อเพื่อนำมาวิจัยหาต้นตอและการกระจายตัวของเชื้อโรคนั้น ๆ หาแนวทางป้องกันหรือควบคุมโรค รวมถึงการวิจัยและทำนายโรคระบาดที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต หรือศึกษาการกลายพันธุ์ของเชื้อเดิมไปเป็นโรคใหม่ด้วยเช่นกัน
อยากเป็นนักระบาดวิทยาภาคสนาม ต้องเรียนหลักสูตรอะไรที่ University of Queensland
- Bachelor of Science (Major in Public Health)
- Bachelor of Science (Major in Biology)
- Bachelor of Science (Major in Biochemistry and Molecular Biology)
- Master of Biostatistics
รายได้เฉลี่ยของนักระบาดวิทยาภาคสนามในประเทศไทย: เงินเดือนเฉลี่ยอยู่ที่ 80,000 – 262,000 บาทต่อเดือน ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ทำงาน
🟢 สนใจเรียนต่อหลักสูตรวิทยาศาสตร์ที่ University of Queensland สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมและสมัครเรียนกับพี่ ๆ One Education ได้เลย เรายินดีให้คำปรึกษาและบริการทุกขั้นตอนฟรี Add Line: @one-edu หรือ คลิกกรอกแบบฟอร์ม
4) นักวิทยาศาสตร์การอาหาร (Food Scientist)
อาหารถือเป็นปัจจัยหลักของมนุษย์ ดังนั้น อาชีพ ‘นักวิทยาศาสตร์อาหาร’ จึงเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานสายวิทยาศาสตร์อยู่เสมอ อาชีพนี้จะเน้นการวิเคราะห์ วิจัย ควบคุมการผลิต รวมถึงความปลอดภัยในกระบวนการแปรรูปอาหารและผลิตภัณฑ์ทางอาหาร และ ควบคุมความยั่งยืนทางอาหารและบรรจุภัณฑ์ นอกจากนี้ยังมีหน้าที่คิดค้นวิธีการใหม่ ๆ ที่จะช่วยปรับปรุงคุณภาพ รสชาติของอาหาร และวิธีการแปรรูปอีกด้วย
อยากเป็นนักวิทยาศาสตร์การอาหาร ต้องเรียนหลักสูตรอะไรที่ University of Queensland
- Bachelor of Science (Major in Food Science and Nutrition)
- Bachelor of Biotechnology (Major in Biology)
- Master of Food Science and Technology
- Master of Biotechnology
- Master of Entrepreneurship and Innovation (Major in Food Entrepreneurship)
รายได้เฉลี่ยของนักวิทยาศาสตร์การอาหารในประเทศไทย: เงินเดือนเฉลี่ยอยู่ที่ 60,000 – 270,000 บาทต่อเดือน ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ทำงาน
เปิดประสบการณ์ตรงของนักวิทยาศาสตร์การอาหารผ่านมุมมองของศิษย์เก่า University of Queensland
“ฉันชอบที่สาขาวิทยาศาสตร์การอาหารและโภชนาการสามารถนำไปใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน ฉันสนุกกับการเรียนรู้ว่าอาหารของฉันมาจากไหน องค์ประกอบใดบ้างที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพและความปลอดภัยของสิ่งที่ฉันทานเข้าไป และสิ่งนั้นส่งผลต่อประชากรส่วนใหญ่อย่างไรบ้าง
ปัจจุบันฉันทำงานตำแหน่ง Regional Policy Officer ที่ Food Industry Asia ซึ่งจะดูแลการพัฒนานโยบายด้านอาหารและบรรจุภัณฑ์อย่างใกล้ชิด รวมถึงวางกลยุทธ์ว่าประเด็นปัญหาสำคัญต่าง ๆ ควรได้รับการแก้ไขอย่างไรถึงจะตรงจุด ยกตัวอย่างเช่น ปัญหาด้านความยั่งยืนของบรรจุภัณฑ์ เป็นต้น ตำแหน่งนี้เปิดโอกาสให้ฉันได้ทำงานร่วมกับผู้ผลิตอาหาร และตรวจสอบข้อมูลฉลากบนผลิตภัณฑ์ รวมถึงได้ทำงานร่วมกับนักวิจัยเก่ง ๆ และรัฐบาลด้วยค่ะ”
– Samantha Wong, Bachelor of Science (Major in Food Science and Nutrition)
5) นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล (Data Scientist)
มาถึงอาชีพยอดฮิตมาแรงแซงทุกตลาดและเป็นที่ต้องการอย่างมากในยุคที่เทคโนโลยีต่าง ๆ พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ‘นักวิทยาศาสตร์ข้อมูล’ หรือที่เรียกกันจนชินปากว่า ‘ดาต้า’ คือผู้จัดเก็บและจัดการกับข้อมูลขนาดใหญ่เพื่อนำไปวิเคราะห์หาข้อมูลเชิงลึก ซึ่งเป็นประโยชน์กับภาคธุรกิจและองค์กร และเป็นอาชีพที่ต้องอาศัยทักษะและความรู้ทั้งในเชิงสถิติ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อีกทั้ง นักวิทยาศาสตร์ข้อมูลที่ดีจะต้องเป็นคนช่างคิด ช่างสังเกต มีความคิดสร้างสรรค์ที่เอื้อในการนำข้อมูลยาก ๆ มาจัดเรียงเป็นภาพให้เข้าใจง่าย รวมถึงเป็นนักสื่อสารที่ดีด้วย
อยากเป็นนักวิทยาศาสตร์ข้อมูล ต้องเรียนหลักสูตรอะไรที่ University of Queensland
- Bachelor of Mathematic (Major in Data Science)
- Bachelor of Mathematic (Major in Data Analytics and Operations Research)
- Bachelor of Mathematic (Major in Computational Science)
- Bachelor of Mathematic (Major in Statistics)
- Bachelor of Computer Science
- Master of Data Science
- Master of Computer Science
- Master of Business Analytics
รายได้เฉลี่ยของนักวิทยาศาสตร์ข้อมูลในประเทศไทย: เงินเดือนเฉลี่ยอยู่ที่ 80,000 – 240,000 บาทต่อเดือน ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ทำงาน
6) นักปรับปรุงพันธุ์พืช (Plant Breeder)
อาชีพสุดท้ายในวันนี้ นั่นก็คือ ‘นักปรับปรุงพันธุ์พืช’ ซึ่งกำลังเป็นที่ต้องการอย่างมากในประเทศไทย เพราะประเทศไทยถือเป็นหนึ่งในประเทศที่โดดเด่นด้านเกษตรกรรม แต่ยังขาดผู้เชี่ยวชาญที่จะช่วยพัฒนาพันธุ์พืชท้องถิ่น รวมถึงการปศุสัตว์ โดยอาชีพนี้จะเน้นที่การพัฒนาเมล็ดพันธุ์ให้มีความคงทนต่อสภาพอากาศที่หลากหลาย สร้างความมั่นคงทางอาหาร และปกป้องความยั่งยืนทางการเกษตร รวมถึงคิดค้นนวัตกรรมในการปรับปรุงและขยายพันธุ์พืช
อยากเป็นนักนักปรับปรุงพันธุ์พืช ต้องเรียนหลักสูตรอะไรที่ University of Queensland
- Bachelor of Science (Major in Plant Science)
- Bachelor of Science (Major in Genetics)
- Bachelor of Science (Major in Cell Biology)
- Bachelor of Environmental Science
- Bachelor of Biotechnology (Major in Agricultural Biotechnology)
- Master of Agricultural Science
- Master of Conservation Biology
- Master of Biotechnology (Major in Plant Agricultural Biotechnology)
รายได้เฉลี่ยของนักปรับปรุงพันธุ์พืชในประเทศไทย: เงินเดือนเฉลี่ยอยู่ที่ 42,000 – 73,000 บาทต่อเดือน ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ทำงาน
อาชีพในสายงานวิทยาศาสตร์ยังมีอีกมากมายรอให้น้อง ๆ ค้นหา ซึ่งการจะค้นหาอาชีพที่ตัวเองสนใจ เริ่มได้จากการเรียนรู้ว่าตัวเองชอบอะไร สนใจเรื่องไหนหรือวิชาอะไรเป็นพิเศษ หลักสูตรไหนที่ตอบโจทย์ และจะเป็นใบเบิกทางไปสู่อาชีพในฝัน และอีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญ คือการพูดคุยกับคนที่มีประสบการณ์ในการเรียนหลักสูตรนั้น ๆ หรือทำงานในอาชีพนั้นจริง ๆ
🟢 สนใจเรียนต่อหลักสูตรวิทยาศาสตร์ที่ University of Queensland สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมและสมัครเรียนกับพี่ ๆ One Education ได้เลย เรายินดีให้คำปรึกษาและบริการทุกขั้นตอนฟรี Add Line: @one-edu หรือ คลิกกรอกแบบฟอร์ม
สนใจเรียนหลักสูตรวิทยาศาสตร์ที่ University of Queensland สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม รับคำแนะนำ และสมัครเรียนได้กับพี่ ๆ One Education ตัวแทนมหาวิทยาลัยชั้นนำอย่างเป็นทางการ เรายินดีบริการและดูแลเรื่องเรียนต่อออสเตรเลียครบทุกขั้นตอนฟรี
Add Line: @one-edu
คลิกกรอกแบบฟอร์ม เพื่อให้พี่ ๆ One Education ติดต่อกลับ
โทรสอบถาม: 02-652-0718
One Education | Study Abroad. Simplified ให้ทุกเรื่องการเรียนต่อต่างประเทศของคุณเป็นเรื่องง่ายครบในที่เดียว
ตามทันทุกข้อมูลการเรียนต่อ UK & Australia
Facebook: One Education
Instagram: oneeducationthailand
Twitter: One Education
YouTube: One Education
บทความล่าสุด
eVisa คืออะไร เรียนต่อ UK ต้องรู้! อัปเดตกฎ Statement สำหรับยื่นวีซ่านักเรียนอังกฤษ เปิดบัญชีธนาคารที่อังกฤษ เค้าทำกันอย่างไร? เรียนปริญญาโท 1 ปีจบในงบ 1 ล้านบาทที่ University of Hull แนะนำ 5 หลักสูตรเรียนต่อปริญญาโทที่ University of Leicesterหมวดหมู่
เรื่องเล่าจากรุ่นพี่
เคล็ดลับการเรียนต่ออังกฤษ
เคล็ดลับการเรียนต่อออสเตรเลีย
หลักสูตรยอดนิยม
ทุนการศึกษา
โปรโมชั่นเรียนภาษา